ไทย / Eng
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
updated: 24 December, 2014 16:59
หน้าแรก ความเข้าใจในโครงการ ความต้องการด้านที่อยู่อาศัย การเสริมสร้างสมรรถนะ วิสัยทัศน์ โครงการนำร่อง ติดต่อ
 
ความเข้าใจในโครงการ
- หลักการและเหตุผล
- เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
- ขอบเขตการดำเนินงาน
- ขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 
เครือข่ายทางสังคม
ความต้องการด้านที่อยู่อาศัย
- ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยจังหวัดบึงกาฬ
การเสริมสร้างสมรรถนะ
- การประชุมประชาคม ครั้งที่ 1-3
- การทัศนศึกษาดูงาน ครั้งที่ 1-3
- การประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1-2
วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย
- วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย
โครงการนำร่อง
- โครงการนำร่องระดับเมือง
- โครงการนำร่องระดับชุมชน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ความเข้าใจในโครงการ
ขอบเขตการดำเนินงาน
 
ขอบเขตด้านพื้นที่
ดำเนินการศึกษาภายในขอบเขตผังเมืองรวมเมืองบึงกาฬ ประกอบด้วย 4 เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่ เทศบาลตำบลบึงกาฬ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ เทศบาลตำบลวิศิษฐ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์
 
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1) ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่อยู่อาศัยของเมือง การขยายตัวของที่อยู่อาศัย การอพยพย้ายถิ่น และสภาพแวดล้อมภายในเมืองที่มีสภาพเสื่อมโทรม ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัดภายในเมือง และผู้มีรายได้น้อย โดยวิเคราะห์คาดการณ์ความต้องการที่อยู่อาศัย รูปแบบ พื้นที่ที่เหมาะสมสำรหับการอยู่อาศัย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และได้รับประโยชน์ร่วมกัน
 
2) การเสริมสร้างสมรรถนะในการพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานและทักษะ เพือนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
 
3) การกำหนดพื้นที่ตััวอย่างโครงการนำร่องที่มีความสอดคล้องกับสภาพื้นที่เมือง สภาพการอยู่อาศัย การพัฒนเมือง ให้เป็นไปตามกระบวนการของพระราชบัญญัติพัฒนาเมือง (ร่าง) เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นสามารถจัดการวางแผนได้ เหมาะสมอย่างเป็นรูปธรรม
 
4) การสนับสนุนให้หน่วยงานท้องถิ่นและภาคีทุกภาคส่วน ได้เรียนรู้ถึงเทคนิคต่างๆ ในการจัดเก็บข้อมูล จัดระบบข้อมูล จัดระบบปัญหา แปรผล และวิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
 
5) จัดให้มีการศึกษาดูงานตามบริบทของพื้นที่ศึกษา เพื่อเป็น Best Practice และสามารถนำผลที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน มาเป็นแบบอย่างและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในพื้นที่
 
 
 
หลักสูตรวิชาการวางแผนภาคและเมือง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแ่ก่น โทรศัพท์ : 0 4336 2046 โทรสาร 0 4336 2047