ไทย / Eng
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
updated: 24 December, 2014 16:59
หน้าแรก ความเข้าใจในโครงการ ความต้องการด้านที่อยู่อาศัย การเสริมสร้างสมรรถนะ วิสัยทัศน์ โครงการนำร่อง ติดต่อ
 
ความเข้าใจในโครงการ
- หลักการและเหตุผล
- เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
- ขอบเขตการดำเนินงาน
- ขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 
เครือข่ายทางสังคม
ความต้องการด้านที่อยู่อาศัย
- ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยจังหวัดบึงกาฬ
การเสริมสร้างสมรรถนะ
- การประชุมประชาคม ครั้งที่ 1-3
- การทัศนศึกษาดูงาน ครั้งที่ 1-3
- การประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1-2
วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย
- วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย
 
โครงการนำร่อง
- โครงการนำร่องระดับเมือง
- โครงการนำร่องระดับชุมชน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ความเข้าใจในโครงการ
เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
เป้าประสงค์
1) เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอสำหรับทุกคนอย่างมีศักดิ์ศรี เสมอภาค และมั่นคงในการอยู่อาศัยสอดคล้องกับ การดำรงชีวิตและวัฒนธรรม
 
2) เพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดการด้านที่อยู่อาศัยของตนเองในระดับจังหวัด เมือง และชุมชนอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
 
3) จังหวัด เมือง และชุมชนสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานและสามารถปรับเปลี่ยนได้ทัน ต่อ
การเปลี่ยนแปลงของโลก
 
4) มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
 
วัตถุประสงค์
1) เพื่อจัำดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดและขับเคลื่อนแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
 
2) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการวางแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหและพัฒนาที่อยู่อาศัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป้าหมาย ให้มีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ รวมถึงการจัดกิจกรรมนำร่องในพื้นที่เป้าหมาย
 
3) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน/แก้ไขพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนและเืมือง ในพื้นที่เป้าหมาย
 
4) เพื่อบูรณาการแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น รวมทั้งการจัดทำและพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศฐานข้อมูลที่อยู่อาศัย (GIS) ในพื้นที่เป้าหมาย
 
5)เพื่อเสนอแนะบทบาทของการเคหะแห่งชาติ และบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน/แก้ไขปัญหา และพัฒนาที่อยู่อาศัย
 
6) เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาเมือง พัฒนาท้องถิ่น โดยการดำเนินงานภายใต้โครงการนำร่อง
 
7) เพื่อให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานโครงการฯ ของจังหวัด เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง
 
 
หลักสูตรวิชาการวางแผนภาคและเมือง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแ่ก่น โทรศัพท์ : 0 4336 2046 โทรสาร 0 4336 2047