ความเข้าใจในโครงการ |
หลักการและเหตุผล |
1) การพัฒนาศักยภาพ การเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ท้องถิ่นและชุมชนสามารถบริหารจัดการ กับปัญหาที่อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองวิสัยทัศน์ประเทศไทย "สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง" เป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่ง ของการเคหะแห่งชาติ |
|
2) สถานการณ์ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในประเทศไทยปัจจุบัน สะท้อนปัญหาเชิงนโยบายในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัย ที่ขาดสมดุล ขาดการบูรณาการ และขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงจากภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน ดังนั้นจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคีท้องถิ่นมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการที่อยู่อาศัยภายใต้ กระบวนการมีส่วนร่วม |
|
3) ภายใต้แนวทางการพัฒนาดังกล่าว โครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ของการเคหะแห่งชาติ คือ กลไกหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้หน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนป้องกัน/แก้ไข ปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|
4) โครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ เป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนให้ท้องถิ่น ได้รับความรู้ เพิ่มประสบการณ์ สามารถวางแผน บริหารจัำดการ การป้องกันและแก้ปัญหาการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองของตนเองได้ ตามพระราชบัญบัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 |
|
|