ไทย / Eng
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
updated: 15 March, 2015 16:51
หน้าแรก ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด แผนการดำเนินโครงการฯ คณะทำงาน ติดต่อ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาและการจัดการปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของประเทศไทยที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงนโยบายในการบริหาร
จัดการท้องถิ่นที่ยังขาดประสิทธิภาพในการนำนโยบายไปใช้งานและปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา
โดยบริบูรณ์ การบริหารจัดการที่อยู่อาศัยยังไม่มีการบูรณาการและการเชื่อมโยงจากภาครัฐ/ท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมโดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้
กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน/แก้ไขปัญหา และพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชนและเมืองเพื่อความมั่นคง
ในการอยู่อาศัยให้แก่ประชาชนในพื้นที่
 
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดขอบเขต
อำนาจให้ท้องถิ่นสามารถจัำดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง โดยการประสานและให้ความร่วมมือกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ในการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมร่วมกันจากการถ่ายโอน
ภารกิจบริการสาธารณะต่างๆ ที่รัฐดำเนินการอยู่ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นและท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยให้เป็นไปตามความ
พร้อมของท้องถิ่น ดังนั้นการศึกษาเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมสมรรถนะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นับเป็นกลไกที่
สำคัญที่มีส่วนสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมและสามารถวางแผน บริการจัดการ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการพัฒนาที่อยู่
อาศัย ชุมชน และเืมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ขอบเขตพื้นที่ของโครงการฯ
ขอบเขตเชิงเนื้อหาสาระ
ทำการศึกษาบนขอบเขตพื้นที่เมืองหลัก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับลักษณะของขอบเขตผังเมืองรวมของแต่ละเมืองหลักในจังหวัด
และการศึกษารายละเอียดข้อมูลพื้นฐานกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกในระดับเมือง ตลอดจนข้อมูลพื้นที่และประมวลนโยบาย
ข้อมูลด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ต่อเนื่อง สรุปสถานการณ์ที่อยู่อาศัยของเมือง การวางแผนที่อยู่
อาศัย และแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในระดับพื้นที่
 
ขอบเขตเชิงพื้นที่
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย มีแนวทางในการสร้างกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยของชุมชนและเมือง ตลอดจนกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดร่างผังแม่บทเขตพื้นที่พัฒนาเมืองกับการอยู่อาศัย

ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย
 
บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งบุคลากรของ
การเคหะแห่งชาติ สามารถพัฒนาสมรรถนะในกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมด้านการวางแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหา
และพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างความเข้าใจ
และสร้างประสบการณ์ในการบริหารจัดการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเตรียมความพร้อมถ่ายโอนโครงการ
ที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเตรียมความพร้อมถ่ายโอนโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติสู่ภายใต้การดูแลของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
เกิดกลไกและ/หรือเครือข่ายความร่วมมือในกระบวนการวางแผนเพื่อป้องกัน/แก้ไขปัญหาของการพัฒนาเมืองกับการอยู่อาศัย
ในพื้นที่เป้าหมายจากภาคีทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมโครงการฯ
 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดสมรรถนะในกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมและเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผ่านหลักการบริหารจัดการที่ดี แนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องและสามารถบูรณาการเข้ากับนโยบาย ยุทธศาสตร์
แผนงาน/โครงการพัฒนาด้านต่างๆ ของพื้นที่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การเคหะแห่งชาติได้รับการยอมรับในบทบาท ภารกิจ และการดำเนินงานในลักษณะู้ผู้เอื้อเชิงกระบวนการ (Change Agent)
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการวางแผนพัฒนาเมืองกับการอยู่อาศัย ทั้งเชิงสาระและเชิงกระบวนการ
ในการป้องกัน/แก้ไขปัญหา และพัฒนาเืมืองกับการอยู่อาศัย ทั้งระดับชุมชนและระดับเมือง ให้แก่ภาคีที่เกี่ยวข้อง
ในพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งมีโอกาสในการดำเนินงานป้องกัน/แก้ไขปัญหา และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง
ภายใต้ยุทธศาสตร์การเคหะแห่งชาติในปัจจุบัน
 
 
 
หลักสูตรวิชาการวางแผนภาคและเมือง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแ่ก่น โทรศัพท์ : 0 4336 2046 โทรสาร 0 4336 2047